
การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมอีสานใต้-กัมพูชา (พิมาย-นครวัดนครธม)
บทคัดย่อ
ปัจจุบันนักท่องเที่ยวมีการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตด้วยตนเอง ดังนั้นเพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวที่เป็นปัจจุบัน (Real Time) งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเขตอารยธรรมขอมอีสานใต้-กัมพูชา (พิมาย-นครวัดนครธม) (2) ศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบสารสนเทศส่งเสริมการท่องเที่ยวเขตอารยธรรมขอมอีสานใต้-กัมพูชา(พิมาย-นครวัดนครธม) ระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเขตอารยธรรมขอมอีสานใต้-กัมพูชา (พิมาย-นครวัดนครธม) ประกอบด้วย เว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) โมบายแอพพลิเคชัน (Mobile Application)และ เฟสบุ๊คแฟนเพจ (Facebook Fanpage) โดยทั้ง 3 ส่วนการดําเนินงานมีประเมินผลด้านประสิทธิภาพของระบบ ด้วยการประเมินผลการทํางานของระบบของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาระบบ จํานวน 5 ราย และ ด้านการท่องเที่ยว จํานวน 5 ราย รวมผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 10 ราย นอกจากนี้ระบบยังถูกประเมินประสิทธิผล การใช้งานโดยนักท่องเที่ยวอาสา จํานวน 10 ราย ดําเนินการด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผ่านการทดสอบเส้นทางการท่องเที่ยวเขตอารยธรรมขอมอีสานใต้-กัมพูชา (พิมาย-นครวัดนครธม) ระหว่างวันที่ 7-11 มิถุนายน 2561 ร่วมกับการใช้งานระบบสารสนเทศของนักท่องเที่ยวอาสา แนวคิดที่ใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับระบบจัดเก็บข้อมูลทุนชุมชน (Data Collection Using Mobile) เป็นการประเมินโดยนักวิจัยและชุมชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องการนําไปใช้ประโยชน์พบว่า การจัดเก็บข้อมูลและการแสดงผลในรูปแบบของแผนที่ดิจิทัล ประโยชน์ในมุมมองของการนําข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์สําหรับสร้างเส้นทางและกิจกรรมการท่องเที่ยวร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยการพัฒนาระบบสารสนเทศและการสื่อสารนั้น จะมีการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการในการใช้งานระบบสารสนเทศและการสื่อสารทั้งจากด้านผู้ให้บริการ (เครือข่ายการท่องเที่ยว/ชุมชน) และผู้รับบริการ จะวิเคราะห์ข้อมูลอยู่บนพื้นฐานของพฤติกรรมและความต้องการนักท่องเที่ยว ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมกับข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูล ทุนชุมชน (วัฒนธรรม/ประเพณี/วิถีชุมชน/เรื่องราว) ข้อมูลการท่องเที่ยว/กิจกรรมสร้างสรรค์ ตามเส้นทางเขตอารยธรรมขอมอีสานใต้-กัมพูชา (พิมาย-นครวัดนครธม) เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการใช้งานและการเป็นศูนย์กลางชองข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลการท่องเที่ยว
ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศ พบว่า ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านเว็บแอพพลิเคชันมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.14 (S.D. = 0.44) นั่นคือประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศด้านเว็บแอพพลิเคชั่นมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก ส่วนประสิทธิภาพของโมบายแอพพลิเคชัน (Mobile Application) อยู่ในระดับมาก ด้วยค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 (S.D. = 0.42) นอกจากนี้ ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้งานระบบสารสนเทศ พบว่า ระบบสารสนเทศสามารถรองรับความต้องการด้านการค้นหาข้อมูลการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวอาสาทั้ง 10 รายมีความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศเนื่องจากปัจจุบันนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเองเป็นกลุ่มคณะขนาดเล็ก ดังนั้นระบบดังกล่าวจะช่วยนักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงข้อมูลเส้นทางและกิจกรรมการท่องเที่ยวได้สะดวกและเป็นปัจจุบัน แต่ไม่ควรมีการกรอกข้อมูลส่วนตัวหรือการลงทะเบียนเข้าระบบ
สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก ด้วยค่าเฉลี่ยรวมในทุกด้านเท่ากับ 4.06 (S.D.=0.51) ส่วนประสิทธิผลของระบบสารสนเทศนักท่องเที่ยวให้ความเห็นว่ามีความเหมาะสมและช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถค้นหาข้อมูลการท่องเที่ยวอีสานใต้-กัมพูชารวมถึงวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตนเองได้
คำสำคัญ : ระบบสารสนเทศส่งเสริมการท่องเที่ยว, ท่องเที่ยวอีสานใต้-กัมพูชา, อารยธรรมขอมอีสานใต้-กัมพูชา